.

วิธีต้มแปะก๊วยไม่ให้ขม

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีต้มแปะก๊วยไม่ให้ขม วันนี้ แปะก๊วย Lover จะมานำเสนอวิธีต้มแปะก๊วยไม่ให้ขม จ้า…… 
จะทำอาหารหรือของกินใดใดความสะอาดต้องมาก่อนเลย เพราะว่าเราจะกินมันได้อย่างสะบายใจ จะได้ไม่ต้องมาปวดท้องทีหลัง 555 เริ่มกันเลยยยย

อันดับแรกเลยนำเจ้าแปะก๊วยที่ซื้อมาแบบยังไม่เกะเปลือกแช่น้ำก่อน ซัก 2-3 ชม. นำเม็ดที่เสียทิ้งไป แล้วล้างให้สะอาด ต่อไปให้ต้มน้ำไว้รองขอบบอกว่าให้ต้มน้ำให้ดือด ต้มทิ้งไว้ซัก 10-15 นาที เพื่อให้แปะก๊วยสุกทั่วกัน

หลังจากนั้นให้เทน้ำเดือดทิ้งแล้วนำไปแช่น้ำเย็น 5-10 นาทีเพื่องให้กระเทาะปลือกได้ง่ายขึ้น แล้วจัดการเกาะได้เลยจ้า เคล็ดลับที่หลายคนไม่รู้ คือ ความจึงแล้วแปะก๊วย ข้างในแกนกลางมีไส้อยู่เป็นสีเขียวๆดำๆ ให้เพื่อนจัดการดึงมันออกด้วย จะทำให้รสขมออกไป หลังจากนั้นให้เอาไปต้มใหม่โดยใช้ไฟกลาง อย่าให้เดือดมาเพาะจะทำให้เม็ดแปะก๊วยแตก ไม่สวยงาม ในขั้นตอนนี้เอง เพื่อนๆจะเชื่อมโดยใส่น้ำตาลก็ได้แล้วแต่ชอบ แต่เราเองชอบที่จะใส่น้ำตาลทรายแดงมากว่า 555 ขอให้สนุกกับ วิธีต้มแปะก๊วยไม่ให้ขม จ้า

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วย

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)



    ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย

    ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของ ความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย

    ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย

    ข้อมูลจาก : th.wikipedia.org

วิธีทำแปะก๊วยนมสด

วันนี้ ขอเสนอ แปะก๊วยนมสด ของหวานสุดอร่อยและยังมีประโยชน์อีกด้วย

สรรพคุณจากเมล็ดแปะก๊วย
เนื้อในเมล็ดแปะก๊วย ประกอบด้วยไขมัน แป้ง โปรตีน และน้ำตาล มีรสหวานอมขมอมฝาด ช่วยบำรุงปอด แก้ไอ แก้หอบ ขับเสมหะ ลดปัสสาวะ ฆ่าเชื่อโรค บำบัดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ หลอดลมอักเสบ ตกขาว หนองใน แปะก๊วยสด ช่วยลดเสมหะ แก้พิษ ฆ่าพยาธิ ถ้านำมาโขลกทาบนใบหน้าและมือ ช่วยขจัดรอยเหี่ยวย่น รักษาอาการหืดได้ และเม็ดแปะก๊วยก็สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหาร หรือทำขนมหวานต่าง ๆ ได้อีกด้วย



มาดูส่วนผสมค่ะ
แปะก๊วยแกะเปลือก 500 กรัม
น้ำตาลทราย / น้ำเปล่า
น้ำนมถั่วเหลือง (ช่วงเจ)
นอกเจ ใช้นมสดรสหวาน

วิธีทำแปะก๊วยนมสด
ล้างแปะก๊วยด้วยน้ำเกลือ 1 รอบ
หม้อตั้งไฟ ใส่น้ำเปล่ากับใบเตย ตามด้วยแปะก๊วย ต้มจนเดือด เทน้ำทิ้ง ผ่านกระชอน
จากนั้นนำกลับใส่หม้อเติมน้ำ ตั้งไฟ จนเดือดเติมน้ำตาลทราย พอชิมว่าหวาน ไม่ถึงขนาดเชื่อม
เปิดไฟอ่อน ๆ เคียวให้รสหวานซึมเข้าไปในเม็ดแปะก๊วย
เคี่ยวจนเม็ดแปะก๊วยนุ่ม  รับรองไม่มีรสขม
รอจนเย็น เทใส่กล่องเก็บแช่เย็น

เมื่อต้องการรับประทาน
แบบร้อน น้ำนมถั่วเหลือง 300 ml. ใส่แปะก๊วยลงไปเท่าที่ต้องการ ตั้งไฟจนเ่ดือด
แบบเย็น นำนมไปแช่เย็น เทใส่ถ้วย ใส่แปะก๊วย  รับประทานได้

เคล็ดไม่ลับของแปะก๊วยนมสด
แปะก๊วยแช่เย็น ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานเสมอ
ถ้าใช้นมถั่วเหลือง ควรรับประทานแบบร้อน
เติมข้าวโอ๊ต ลงไปสัก 1 ช้อนโต๊ะ แทนมื้อเย็นได้สบาย ๆ
แบบเย็น ใช้นมสดรสหวานหอม จะได้รสพอดีเชียวค่ะ

ข้อมูลจาก : sudadeesiri.blogspot.com

แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน

แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน

    แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช



    สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฎทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ

    ข้อมูลจาก : th.wikipedia.org

แปะก๊วยนมสด blog บอกเล่าเรื่องราว

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แปะก๊วยนมสด กลุ่มเพื่อนน่ารักกับ blog บอกเล่าเรื่องราว กิจกรรมการดำเนินชีวิตของเพื่อนๆกกลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจทำความดีต่างๆ มาร่วมติดตามเรื่องราวของพวกเรากันนะครับ
 

Blogger news

Blogroll

Most Reading